ประชาธิปไตยอาจจะไม่ใช่แค่แนวคิดหรือระบอบการปกครองสำหรับมนุษย์อีกต่อไปเมื่อ Martin Nisser นักศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตจาก MIT อยากทำฮาร์ดแวร์ให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นด้วยการทำให้สามารถสร้างและปรับแต่งได้ง่ายขึ้น

 

Martin Nisser ที่กำลังศึกษาปริญญาเอกอยู่นั้นได้ลงลึกไปกับงานวิจัยที่หุ่นยนต์ประกอบร่างกายขึ้นมาเองซึ่งอาจเป็นกุญแจสำคัญในการลดต้นทุนสำหรับหุ่นยนต์ได้ตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาตรีและได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านหุ่นยนต์ ระบบ และการควบคุมที่ ETH Zurich ที่ซึ่งขาได้พบกับศาสตรจารย์จาก Havard Microrobotics Laboratory ที่เปิดโอกาสเขาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีที่น่าสนใจต่าง ๆ เช่น การใช้วัสดุเป็นชั้น ๆ เช่น Shape Memory Polymer ซึ่งเป็นวัสดุอัจฉริยะที่สามารถตั้งโปรแกรมให้เปลี่ยนรูปทรงได้เมื่ออยู่ภายใต้อุณหภูมิที่กำหนด ส่งผลให้สามารถโปรแกรมแผ่น 2 มิติหลายชั้นเพื่อให้พับไปในรูปแบบที่ต้องการเพื่อสร้างรูปแบบ 3 มิติที่ต้องการได้ และเมื่อได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ

 

โครงการวิจัยที่ Nisser ทำก่อนการเรียนปริญญาเอกนั้นเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่สามารถตั้งค่าใหม่ได้ (Reconfigurable Robot) ที่ European Space Agency ทำให้เขาเห็นประเด็นและเงื่อนไขที่เกิดขึ้นจากข้อจำกัดที่ทุกระบบเมื่อต้องปล่อยสู่อวกาศจะต้องสามารถบรรจุในกรสวยได้อย่างลงตัว ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวให้ความสำคัญกับโครงสร้างที่สามารถปรับเปลี่ยนตั้งค่าหม่ได้ ซึ่งนำ Nisser ไปสู่หุ่นยนต์ที่พับตัวเองได้ โดยเขาได้พัฒนา Algorithm ที่ทำให้โมดูลยานอวกาศจำนวนมากเคลื่อนไหวพร้อมกันในขณะที่ยึดติดกันอยู่และปรับเปลี่ยนรูปร่างเป็นรูปร่างที่ต้องการได้

 

และในโครงการปริญญาเอกนั้น Nisser และทีมได้พัฒนาเทคนิคการพิมพ์ 3 มิติที่สามารถใช้ในสภาพแวดล้ออวกาศได้ การผลิตวัสดุในอวกาศโดยไม่ต้องกังวลเรื่องแรงดึงดูดจึงเกิดขึ้นและได้รับการทดสอบในการบิน Parabolic Flight หรือการบินที่ทำให้อยู่ในสภาวะไร้แรงดึงดูดเป็นเวลา 20 วินาที และโครงการนี้จะถูกนำขึ้นไปทดสอบในสถานีอวกาศนานาชาติโดย SpaceX ปลายปีนี้

 

เทคนิคที่พัฒนาขึ้นมาเหล่านี้ลงลึกลงไปในประเด็นของ Self-configration และ Self-assembly หรือการประกอบและตั้งค่าตัวเองซึ่งกลายเป็นประเด็นสำคัญสำหรับยุคใหม่ ความสนใจนี้นี้นำไปสู่งานวิจัยเพื่อยกระดับความยั่งยืนและเทคโนโลยีล้ำสมัยที่เข้าถึงได้มากขึ้น การสร้างระบบเพื่อทำงานให้กับระบบที่มีความจำเพาะ เช่น การผลิตรถ ผลิตเก้าอี้ ซึ่งในวิสัยทัศน์ระยะยาวสามารถสร้างระบบจากส่วนประกอบอัจฉริยะและระบบ Modular ซึ่งทำให้สามารถตั้งค่าได้และปรับฟังก์ชันได้หลากหลายตามความต้องการ

 

Nisser เริ่มต้นการต่อสู้กับความท้าทายเหล่านี้ด้วยการสร้าง LaserFactory อุปกรณ์เสริมสร้างที่ติดตั้งลงไปเพียง 150 ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เชื่อมกับเครื่องตัดเลเซอร์และทำให้อุปกรณ์เป็นระบบ Custom ที่รองรับตั้งแต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์วสมใส่ไปจนถึงฟังก์ชันโดรน ซึ่งในกระบวนการผลิตนั้นไม่จำเป็นต้องมีคำแนะนำในการใช้งานซึ่งโดรนที่ผลิตเสร็จแล้วก็บินออกจากฐานผลิตได้เลย

 

หลังสำเร็จการศึกษา Nisser ยังหวังว่าจะทำการสอนที่เขามักทำในเวลาว่างเพื่อสอนเทคโนโลยีให้กับผู้ต้องขังต่อไปและวิจัยเกี่ยวกับหุ่นยนต์อย่างต่อเนื่องในฐานะศาสตรจารย์ ซึ่ง Nisser คิดว่าหากมนุษย์เข้าใกล้ระบบการประกอบอัตโนมัติมากขึ้นเท่าไหร่ มนุษย์ยิ่งเข้าใกล้การลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงระบบฮาร์ดแวร์ที่มีความล้ำสมัยมากขึ้นได้มากเท่านั้น

 

 

 

ที่มา : News.mit.edu / mmthailand.com