การศึกษา "เทรนด์อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ของเกาหลีใต้" จะเป็นประโยชน์อย่างมาก จากที่เกาหลีใต้เป็นประเทศอันดับ 2 ของโลกที่มีอัตราส่วนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมากที่สุด และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตหุ่นยนต์ท็อป 5 จึงเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มี Robot Sector ที่แข็งแรง

 

บริษัทขนาดใหญ่เริ่มให้ความสำคัญกับหุ่นยนต์ในฐานะเครื่องมือสู่การเติบโตทางธุรกิจ

ในหลายปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตหุ่นยนต์ในเกาหลีใต้ส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามในช่วงไม่นานมานี้ บริษัทขนาดใหญ่ เช่น  Samsung, LG, Hyundai, Doosan, Hanwha, และ KT ได้หันมาโฟกัสธุรกิจหุ่นยนต์มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นที่จับจ้องของตลาดที่จะผลักดันการเติบโตของเซกเตอร์หุ่นยนต์ อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ธุรกิจหุ่นยนต์ของผู้ผลิตรายใหญ่ มี 3 ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ประกอบด้วย

 

1. บริษัทขนาดใหญ่มักโฟกัสไปยังเซกเตอร์ที่มีการเติบโต เช่น โคบอทส์ (Cobots), หุ่นยนต์โลจิสติกส์, และหุ่นยนต์บริการ นอกจากนี้ ซัมซุงและ LG ยังอยู่ระหว่างการเตรียมเข้าสู่ตลาดหุ่นยนต์ในครัวเรือนซึ่งใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการทำงาน เพื่อขยายตลาดหุ่นยนต์ที่แต่เดิมเป็นแบบ B2B ให้กลายเป็น B2C อีกด้วย

2. บริษัทขนาดใหญ่ร่นเวลาในการพัฒนาหุ่นยนต์ จากการเข้าซื้อกิจการบริษัทอื่น ๆ เช่น  Hyundai Motor Company ที่เข้าซื้อกิจการของ Boston Dynamics ผู้ผลิตหุ่นยนต์สี่ขา ไปจนถึงการเปิดรับการร่วมพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์กับบริษัทอื่น ๆ

3. บริษัทขนาดใหญ่ตั้งเป้าหมายตลาดระดับโลก ตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และมีโครงสร้างพื้นฐานการขาย และการบริการที่มีอยู่ทั่วโลกเพื่อการจัดจำหน่ายในต่างประเทศอย่างรวดเร็ว เช่น Doosan Robotics ที่ตั้งเป้าไปยังตลาดโลก มียอดขายในสหรัฐฯ และยุโรปรวมกันมากถึง 60% ของยอดขายทั้งหมดในปัจจุบัน ซึ่งเป็นไปได้ว่าหลังจากนี้ ต่างประเทศจะเข้าถึงหุ่นยนต์เกาหลีง่ายกว่าที่ผ่านมา 

 

cosystem ที่หลากหลาย สู่ Success Stories ที่เพิ่มขึ้น

Robots Company หรือ บริษัทหุ่นยนต์ในเกาหลีใต้แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ผู้ผลิตแบบ OEM และผู้ให้บริการด้านหุ่นยนต์ ซึ่งการเติบโตของธุรกิจทั้งสองกลุ่มนี้ได้รับความสนใจจากตลาดและนักลงทุนเป็นอย่างมาก เช่น Rainbow Robotics ผู้ผลิตโคบอทส์ และบริษัท OEM รายใหญ่จากเกาหลีที่ประสบความสำเร็จในการเข้าสู่ตลาดหุ้นจนบริษัทมีมูลค่ามากขึ้น หรือ Neuromeca ผู้ผลิตหุ่นยนต์โลจิสติกส์อัตโนมัติที่ถูกจับตามอง

ส่วนผู้ให้บริการด้านหุ่นยนต์นั้น มักได้รับความสนใจจากธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารเป็นหลัก เช่น Lounge X ที่โด่งดังจากการผลิตหุ่นยนต์บาริสต้า (Robot Barista) หรือหุ่นยนต์ชงกาแฟ, Robert Chicken และ DDeck ผู้ผลิตหุ่นยนต์ทอดไก่ ซึ่งสามารถพัฒนาหุนยนต์ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วผ่านการเรียนรู้ความล้มเหลวของหุ่นยนต์ทำอาหารยุคแรกจาก Silicon Valley

 

SMEs ใช้โรบอทเพิ่มขึ้น จากราคาที่ถูกลง

ที่ผ่านมา ผู้ใช้หุ่นยนต์ในเกาหลีส่วนมากคือธุรกิจขนาดกลาง และธุรกิจขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีธุรกิจขนาดเล็กหันมาติดตั้งหุ่นยนต์มากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากราคาที่ถูกลง และการใช้งานที่ง่ายกว่าแต่ก่อน อีกทั้งยังเห็นผลชัดเจนอีกด้วย

 

ความคิดสร้างสรรค์ในการนำโรบอทมาใช้ในภาคบริการ

ปัจจุบัน หุ่นยนต์ถูกนำมาใช้ในธุรกิจเกาหลีอย่างสร้างสรรค์มากขึ้น เช่น การนำหุ่นยนต์ทำเครื่องดื่มมาใช้ในภัตตาคาร, แฟรนไชส์ไก่ทอดที่ได้รับความนิยมในเกาหลีก็มีการนำหุ่นยนต์มาช่วยทอดได้, ไปจนถึงการนำหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารมาใช้ในร้านอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นสถานที่ที่มีวัยรุ่นใช้งานจำนวนมาก ซึ่งตัวอย่างการใช้งานเหล่านี้จะเห็นได้ว่าไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการตลาดเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้อีกด้วย ทำให้เกาหลีใต้มีการพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับการนำไปใช้งานอย่างหลากหลาย และรวดเร็วเป็นอย่างมาก

 

รัฐบาลให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง เชื่อถือได้

เทรนด์สุดท้ายที่ช่วยผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เกาหลีใต้ คือการผลักดันจากรัฐบาลเพื่อยกระดับให้หุ่นยนต์เกาหลีไปสู่เวทีโลก เช่น KIRIA (Korea institute for Robot industry Advancement) และ KAR (Korea Association of Robot industry) ที่ให้การสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาหุ่นยนต์, ร่างมาตรการให้สอดคล้องไปกับความต้องการของผู้ผลิต และความต้องการของตลาด, ไปจนถึงการส่งเสริมการติดตั้งหุ่นยนต์ และให้ความช่วยเหลือในการส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย

 

Manuhub การสนับสนุนที่สำคัญและเครือข่ายที่มีเป้าหมายเดียวกันทำให้การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมไปได้ไกลยิ่งขึ้น

 

ที่มา : M Report