ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อซัพพลายเชนโลกท่ามกลางหมอกโควิดที่ยังปกคลุมในหลายพื้นที่ จึงเป็นที่จับตาและเฝ้ารอให้วิกฤตครั้งนี้คลี่คลายลง เพื่อปลดล็อกเศรษฐกิจโลก

 

1. เรือและท่าเรือ
ปัจจุบันท่าเรือจีนได้ผ่านพ้นวิกฤตปัญหาต่าง ๆ สืบเนื่องจากโควิดแล้ว โดยสามารถระบายเรือขนส่งสินค้าที่ตกค้างได้อย่างต่อเนื่อง

โดยภาพรวมการจัดส่งสินค้าทางเรือจึงยังมีความล่าช้าอยู่ โดย Royal Canadian Bank รายงานว่า ปัจจุบันระยะเวลาที่ใช้ในการจัดส่งจากท่าเรือสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 7.5 วันซึ่งยาวนานกว่าช่วงก่อนการระบาดของโควิดซึ่งใช้เวลาเพียง 3.5 วันเท่านั้น โดยคาดการณ์ว่า ระยะเวลาจัดส่งสินค้าทางเรือจะสามารถกลับสู่สภาวะปกติได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2022

 

2. สต๊อกสินค้า
หนึ่งในสำนักวิเคราะห์ทางการเงิน คาดการณ์ว่า ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลนจะรุนแรงขึ้นในช่วงปลายปี 2021 ซึ่งความต้องการสินค้าจะพุ่งสูงในช่วงเทศกาลปีใหม่ และสต๊อกสินค้าจะลดลงหลังผ่านพ้นช่วงเทศกาล ทำให้เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสแรกปี 2022

Paul Donovan หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก UBS Global Wealth Management แสดงความเห็นว่า ปัจจุบันความต้องการสินค้าต่าง ๆ พุ่งสูงเป็นพิเศษ โดยเฉพาะสินค้าที่มีอายุการใช้งานยาวนาน และคาดการณ์ว่าผู้บริโภคจะเริ่มเปลี่ยนแนวทางจากการซื้อสินค้าไปเป็นการใช้บริการ

 

3. ชิปเซมิคอนดักเตอร์
อีกความเคลื่อนไหวหนึ่งที่ทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลง คือ การระบาดของโควิดในอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาเลเซียซึ่งเป็นฐานการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่สำคัญแห่งหนึ่ง ทั้งยังเป็นผู้ผลิตชิปยานยนต์สัดส่วน 13% ของตลาดโลก

ซัพพลายเออร์ชิปรายหนึ่งจากมาเลเซีย คาดการณ์ว่าตลาดชิปอาจต้องใช้เวลาอีก 2 - 3 ปีจึงจะกลับสู่สภาวะปกติ ในขณะที่สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (SIA) รายงานว่าในไตรมาสที่ 3 ปี 2021 ที่ผ่านมานี้ยอดขายชิปพุ่งสูงถึง 145,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

4. ไม้ กระดาษ และโลหะ
อย่างไรก็ตาม วิกฤตขาดแคลนพลังงานในจีน ทำให้โรงงานหลายแห่งประสบปัญหาพลังงานไม่เพียงพอ ส่งผลให้ราคาถ่านหินไปจนถึงราคาพลังงานพุ่งสูง ภาคการผลิตต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก นำไปสู่การขึ้นราคาโลหะและวัตถุดิบหลายชนิด

สำหรับไม้ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในงานก่อสร้างก็มีราคาลดลงเช่นเดียวกับกระดาษ โดยพบว่าปัจจุบันราคาไม้ในสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงฤดูใบไม้ผลิถึง 60%

 

5. โควิด
ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมอย่างมาเลเซียและไต้หวัน ซึ่งมีการกระจายวัคซีนอย่างแพร่หลายและมีประสิทธิภาพ จึงคาดการณ์ได้ว่าในอนาคตกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศเหล่านี้จะไม่ได้รับผลกระทบรุนแรงเหมือนที่ผ่านมา

 

 

ที่มา : M Report