นักวิจัยจาก Chalmers University of Technology ประเทศสวีเดนได้พัฒนาหน้าจอดิจิทัลรุ่นใหม่ที่มีความบางเทียบเท่ากระดาษแต่สามารถให้ความชัดเจนของภาพได้เหมือนกับการจ้องมองในร่มแม้จะอยู่กลางแดดริมทะเลในวันฟ้าใสก็ตาม

 

เทคโนโลยีนี้บางครั้งก็ถูกเรียกว่ากระดาษอิเล็กทรอนิก ซึ่งสามารถแสดงผลสีได้อย่างเต็มศักยภาพโดยใช้แสงจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเพื่อช่วยให้การใช้พลังงานนั้นอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการใช้งาน

 

หน้าจอดิจิทัลในสมัยนี้นิยมใช้ Backlight เพื่อแสดงข้อความหรือภาพซึ่งสามารถใช้ได้ดีในพื้นที่ร่มแต่ทว่าเมื่อต้องใช้งานหน้าจอภายใต้แสงอาทิตย์อันเจิดจ้ากลับมีความยากลำบากในการใช้งาน ซึ่งหน้าจอใหม่นี้มีลักษณะเป็น Reflective Screen ซึ่ตั้งใจใช้แสงจากสภาพแวดล้อมเพื่อเลียนแบบการทำงานของดวงตามนุษย์ที่ตอบสนองต่อกระดาษจากธรรชาติที่ผลิตขึ้น

 

นักวิทยาศาสตร์ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัสดุที่มีความยืดหยุ่นและบางเป็นพิเศษเพื่อสร้างสีสันได้แบบจอ LED ในขณะที่ใช้พลังงานเพียง 10% ของแท็บเบล็ตมาตรฐานที่วางขายกันอยู่ตามท้องตลาด ซึ่งในช่วงต้นของการออกแบบนั้น Reflective Screen ไม่สามารถแสดงผลภาพได้เต็มศักยภาพ การศึกษาใหม่นี้ได้ต่อยอดจากความสำเร็จเดิมโดยใช้วัสดุโครงสร้างนาโนที่มีลักษณะพรุนโปร่ง ประกอบด้วย Tungsten Trioxide ทองและแพลทตินัม ซึ่งทีมวิจัยได้ลองวิธีใหม่โดยการกลับด้านกระบวนการออกแบบทำให้มีสีสันที่ตรงกับค่ามากกว่าเดิม

 

การกลับด้านในการออกแบบนันทำให้การพัฒนาก้าวหน้าอย่างมาก ทีมวิจัยได้ว่าชิ้นส่วนที่นำไฟฟ้าได้ดีไว้ใต้โครงสร้างนาโนที่เป็น Pixelated ซึ่งสร้างสีขึ้นมาแทนที่จะไว้ด้านบนซึ่งเป็นแนวทางที่ใช้ก่อนหน้า การออกแบบใหม่นี้หมายความว่าการมองนั้นจะเป็นการมองลงไปยังพื้นผิว Pixelated โดยตรงทำให้การมองเห็นสีนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น

 

นอกเหนือจากปริมาณการใช้พลังงานนั้นอยู่ในระดับต่ำซึ่งเรียกได้ว่าเกือบเป็น 0 เนื่องจากใช้แสงจากสภาพแวดล้อมเข้าช่วยด้วยแล้ว Reflective Screenมาพร้อมกับจุดเด่นอื่น ๆ ด้วย เช่น ก่อให้เกิดการล้าของสายตาที่น้อยกว่าจอทั่วไป

 

Manuhub มองว่าการที่จอภาพมีความคมชัด สดใสมากขึ้น เป็นส่วนทำให้การทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

 

ที่มา: News.cision.com และ mmthailand.com